"เมือง แห่งสุขภาพ"
มีสถานพยาบาลทั่วถึง ประชาชนเข้ารับการรักษาเร็วขึ้น เชี่ยวชาญในการรักษา บริหารจัดการโรคระบาดในสภาวะวิกฤตอย่างทันเวลา
"เมือง แห่งสุขภาพ"
มีสถานพยาบาลทั่วถึง ประชาชนเข้ารับการรักษาเร็วขึ้น เชี่ยวชาญในการรักษา บริหารจัดการโรคระบาดในสภาวะวิกฤตอย่างทันเวลา
❒ สภาพปัญหา
✘
ระบบสาธารณสุขยังไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอ
✘
เกิดปัญหาการให้บริการที่ล่าช้า
✘
ขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของการบริการในแต่ละด้าน
❒ การแก้ปัญหา
✓
เน้นให้เกิดความครอบคลุมทั่วถึง
✓
เชี่ยวชาญในการรักษา
✓
เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
✓
บริหารจัดการโรคระบาดอย่างมืออาชีพ
❒ สภาพปัญหา
✘
ระบบสาธารณสุขยังไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอ
✘
เกิดปัญหาการให้บริการที่ล่าช้า
✘
ขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของการบริการในแต่ละด้าน
❒ การแก้ปัญหา
✓
เน้นให้เกิดความครอบคลุมทั่วถึง
✓
เชี่ยวชาญในการรักษา
✓
เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
✓
บริหารจัดการโรคระบาดอย่างมืออาชีพ























เพื่อให้ประชาชนได้บริการอย่างทั่วถึง
● ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งที่มีอยู่ ให้เป็นโรงพยาบาลประจำเขต สำหรับการวินิจฉัยและรักษาโรคภายใต้โรงพยาบาลแกนกลางของแต่ละพื้นที่ 9 โรงพยาบาล
● ผลักดันให้มีโรงพยาบาล สังกัด ของ กทม. ในพื้นที่ที่กรุงเทพเหนือ เพื่อกรุงเทพมหานครครอบคลุมทุกมุมเมือง
● ส่งเสริม ให้มีการพัฒนาศักยภาพและขยายขีดความสามารถ ในโรงพยาบาลสังกัด กทม. เพื่อรับรองความต้องการในการใช้บริการ ( ซึ่งจากการศึกษาของ กทม.มีความเป็นไปได้ที่ รพ.กลาง ,รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ และ รพ.บางนา ฯ)
● ผลักดันให้มีการจัดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนอย่างน้อย 1 ศูนย์ 1 เขต
เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาที่มีความเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น
● ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ในโรงพยาบาลปฐมภูมิที่ มีอยู่ทั้ง 69 แห่ง ● ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายเครือข่ายคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพและคลินิกผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ● ส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการจัดสถานบริการรักษาโรคที่เฉพาะทาง มากยิ่งขึ้น เช่น ✔ ศูนย์หัวใจ ✔ ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ✔ ศูนย์มะเร็ง ✔ ศูนย์ตรวจและวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ ✔ ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาที่เร็วขึ้น
● ส่งเสริมและสนับสนุน การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยระบบโทรเวชกรรม รวมทั้งการจัดส่งยาและเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน เพื่อลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการเดินทาง ● ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเชื่อมระบบการรักษาโดยอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร กับโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ด้วยระบบ Teleconsult ( เทเลคอนเซ้าท์) ● สนับสนุนให้มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีอาสาสมัครแคร์กิฟเวร์ ซึ่งผ่านการอบรมอย่างถูกต้องเป็นผู้ให้บริการ ● พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ( หารือความเป็นไปได้การเพิ่มจำนวนรถฉุกเฉิน ) ● ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาหรือใช้พื้นที่ต่างๆ ของเมืองเป็นจุดจอดรถพยาบาล เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ทั่วทุกเขต อันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเข้าเผชิญเหตุ
การจัดการสภาวะฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ
● พัฒนาระบบเทคโนโลยี มาใช้ในการป้องกัน รักษา และเยียวยา เชื่อมโยงทั้งระบบ ● ผลักดันให้มีการจัดทำ แผนเผชิญเหตุและแบบจำลองสถานการณ์ (ที่ผ่านมาประเทศได้ประสบกับโรคต่างๆ การเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ )