"เมืองเดินทางสะดวก"
“ผม อยากให้กรุงเทพเป็นเมืองที่ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น บางอย่างเราสามารถพัฒนาให้มันดีกว่าเดิมได้ “
"เมือง เดินทางสะดวก"
“ผม อยากให้กรุงเทพเป็นเมืองที่ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น บางอย่างเราสามารถพัฒนาให้มันดีกว่าเดิมได้ “
ปัญหาที่คนกรุงเทพพบเจอ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้กรุงเทพมหานคร มีการพัฒนาของเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน ถนนหนทาง รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคและความทันสมัยของเทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเช่นนี้ ย่อมประสบกับปัญหาอุปสรรคต่างๆตามมาด้วย และปัญหาหนึ่งที่สำคัญ ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ นั่นก็คือ ปัญหาด้านการจราจร
สาเหตุหลักของปัญหา
- การขยายตัวของเมือง
- เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
การแก้ปัญหา
ภารกิจในการบริหารจัดการของท่าน พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง และทีมงาน จึงมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจราจรและอำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมาให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด ทั้งคนเดินเท้า ยานพาหนะ รวมถึงระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะด้วยการดำเนินการใน 3 ลักษณะ ดังนี้
สำเร็จแล้ว
คนเดินทางสะดวก
- ปรับปรุงทางเท้าถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์
- เส้นทางเดินเลียบคลอง สวนสาธารณะคลองช่องนนทรีช่วงที่ 2 จากถนนสาทร-ซอยนราธิวาส 7
- ปรับปรุงสะพานเขียวเชื่อม 2 สวนใจกลางเมือง
- ปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าปากคลองตลาด จากสะพานเจริญรัช-ลานอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 สะพานพุทธยอดฟ้า
- ปรับปรุงทางเท้าให้เดินสะดวก ปลอดภัยกับทุกคน แล้ว 18 แห่ง
เช่น ทางเท้าแยกอโศก ถนนพหลโยธินจากห้าแยกลาดพร้าวถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนพระราม 1
จะพัฒนาต่อ
คนเดินทางสะดวก
- พัฒนาทางเท้าในกรุงเทพฯ ให้เป็นทางเดินเท้าที่สะดวกและปลอดภัยกับคนทุกกลุ่มทุกวัย
- พัฒนาทางม้าลาย ทั่วกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐาน
- ผลักดันให้มี Sky Walk บริเวณเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่ต่าง ๆ
- พัฒนาพื้นที่สำคัญของเมือง ให้เป็นย่านแห่งการเดินเท้าที่สะดวก เช่น ย่านเศรษฐกิจ
ย่านเมืองเก่า ย่านนวัตกรรม และศูนย์การแพทย์
สำเร็จแล้ว
คนเดินทางสะดวก
- ปรับปรุงทางเท้าถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์
- เส้นทางเดินเลียบคลอง สวนสาธารณะคลองช่องนนทรีช่วงที่ 2 จากถนนสาทร-ซอยนราธิวาส 7
- ปรับปรุงสะพานเขียวเชื่อม 2 สวนใจกลางเมือง
- ปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าปากคลองตลาด จากสะพานเจริญรัช-ลานอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 สะพานพุทธยอดฟ้า
- ปรับปรุงทางเท้าให้เดินสะดวก ปลอดภัยกับทุกคน แล้ว 18 แห่ง
เช่น ทางเท้าแยกอโศก ถนนพหลโยธินจากห้าแยกลาดพร้าวถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนพระราม 1
จะพัฒนาต่อ
คนเดินทางสะดวก
- พัฒนาทางเท้าในกรุงเทพฯ ให้เป็นทางเดินเท้าที่สะดวกและปลอดภัยกับคนทุกกลุ่มทุกวัย
- พัฒนาทางม้าลาย ทั่วกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐาน
- ผลักดันให้มี Sky Walk บริเวณเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่ต่าง ๆ
- พัฒนาพื้นที่สำคัญของเมือง ให้เป็นย่านแห่งการเดินเท้าที่สะดวก เช่น ย่านเศรษฐกิจ
ย่านเมืองเก่า ย่านนวัตกรรม และศูนย์การแพทย์
สำเร็จแล้ว
มวลชนเดินทางสะดวก
- เปิดให้บริการรถโดยสารไฟฟ้า EV Shuttle 2 เส้นทาง
(1) อนุสาวรีย์ชัยสมรภุมิ-สนามเป้า-ดินแดง
(2) ชุมชนเคหะร่มเกล้า-ARL ลาดกระบัง - รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ (เขียวใต้) 9 สถานี 12.8 กม.
- รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (เขียวเหนือ) 16 สถานี 18.4 กม.
- รถไฟฟ้าสายสีทองจากสถานีกรุงธนบุรี-สถานีสะพานพุทธ 4 สถานี 2.8 กม. ให้บริการในลักษณะ Feeder
เพื่อเติมเต็มโครงข่ายหลัก - เปิดเส้นทางเดินเรือโดยสารไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษม 11 ท่า ระยะทาง 5 กม. เพื่อเติมเต็มโครงข่ายหลักและเชื่อมต่อการเดินทางให้สมบูรณ์
จะพัฒนาต่อ
มวลชนเดินทางสะดวก
- ผลักดันให้มีรถโดยสารไฟฟ้า EV Shuttle เพื่อให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสะดวกยิ่งขึ้น
- ผลักดันให้มีการพัฒนาป้ายรถเมล์ทั่วกรุงเทพฯ เป็นป้ายรถเมล์อัจฉริยะ
- พัฒนาระบบจัดการจราจรด้วยเทคโนโลยี Area Traffic Control
- ผลักดันให้มีการเดินรถไฟฟ้าสายรอง เพื่อเติมเต็มรถไฟฟ้าสายหลัก
- ผลักดันเส้นทางเดินเรือโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมและเพียงพอ
สำเร็จแล้ว
มวลชนเดินทางสะดวก
- เปิดให้บริการรถโดยสารไฟฟ้า EV Shuttle 2 เส้นทาง
(1) อนุสาวรีย์ชัยสมรภุมิ-สนามเป้า-ดินแดง
(2) ชุมชนเคหะร่มเกล้า-ARL ลาดกระบัง - รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ (เขียวใต้) 9 สถานี 12.8 กม.
- รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (เขียวเหนือ) 16 สถานี 18.4 กม.
- รถไฟฟ้าสายสีทองจากสถานีกรุงธนบุรี-สถานีสะพานพุทธ 4 สถานี 2.8 กม. ให้บริการในลักษณะ Feeder
เพื่อเติมเต็มโครงข่ายหลัก - เปิดเส้นทางเดินเรือโดยสารไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษม 11 ท่า ระยะทาง 5 กม. เพื่อเติมเต็มโครงข่ายหลักและเชื่อมต่อการเดินทางให้สมบูรณ์
จะพัฒนาต่อ
มวลชนเดินทางสะดวก
- ผลักดันให้มีรถโดยสารไฟฟ้า EV Shuttle เพื่อให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสะดวกยิ่งขึ้น
- ผลักดันให้มีการพัฒนาป้ายรถเมล์ทั่วกรุงเทพฯ เป็นป้ายรถเมล์อัจฉริยะ
- พัฒนาระบบจัดการจราจรด้วยเทคโนโลยี Area Traffic Control
- ผลักดันให้มีการเดินรถไฟฟ้าสายรอง เพื่อเติมเต็มรถไฟฟ้าสายหลัก
- ผลักดันเส้นทางเดินเรือโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมและเพียงพอ
สำเร็จแล้ว
ยานพาหนะสัญจรสะดวก
- เชื่อมโครงข่ายถนนเพื่อให้การเดินทางด้วยรถยนต์ในกรุงเทพฯ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ด้วย 11 โครงการก่อสร้างถนนสายใหม่ 3 โครงการปรับปรุงถนนเดิม ผลักดัน 2 โครงการก่อสร้างทางลอด และ 2 โครงการก่อสร้างสะพาน
จะพัฒนาต่อ
ยานพาหนะสัญจรสะดวก
- ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงข่ายถนนเพื่อให้การเดินทางด้วยรถยนต์ในกรุงเทพฯ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ด้วยการพัฒนาถนน ทางลอด สะพานข้ามแยก สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และสะพานข้ามคลอง
สำเร็จแล้ว
ยานพาหนะสัญจรสะดวก
- เชื่อมโครงข่ายถนนเพื่อให้การเดินทางด้วยรถยนต์ในกรุงเทพฯ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ด้วย 11 โครงการก่อสร้างถนนสายใหม่ 3 โครงการปรับปรุงถนนเดิม ผลักดัน 2 โครงการก่อสร้างทางลอด และ 2 โครงการก่อสร้างสะพาน
จะพัฒนาต่อ
ยานพาหนะสัญจรสะดวก
- ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงข่ายถนนเพื่อให้การเดินทางด้วยรถยนต์ในกรุงเทพฯ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ด้วยการพัฒนาถนน ทางลอด สะพานข้ามแยก สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และสะพานข้ามคลอง
ผลการดำเนินงานที่สำเร็จแล้ว
ปรับปรุงทางเท้าในพื้นที่ของ กทม. ให้อยู่ ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามและเกิดความสะดวกในการสัญจร ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการปรับปรุงทางเท้าไปแล้วกว่า 18 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 4 แห่ง ตัวอย่างเช่น
- สะพานเขียวจากแยกสารสินถึงถนนรัชดาภิเษก
- ถนนพญาไท จากอนุสาวรีย์ฯถึงสะพานหัวช้าง
- ทางเท้าแยกอโศก
- ทางถนนประดิพัทธ์
- ทางเท้าถนนพหลโยธิน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
ทางเท้าที่ถนนพระราม 1 ช่วงแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ที่ออกแบบให้มีความแข็งแรง ทนทาน และมีทัศนียภาพด้านบนที่สวยงามสอดคล้องกัน
ทางเท้าพระราม 1 เป็นการพัฒนาทางเท้าที่ไม่ใช่การทำให้เกิดแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้เป็นทางเท้าที่ดีเหมาะกับการใช้งานของทุกคน




โดยการเชื่อมโครงข่ายของถนน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางสายหลักและจุดตัดทางแยกต่างๆ ช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้ทางได้รับความรวดเร็วในการเดินทาง ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบ คือ
การก่อสร้างปรับปรุงถนน
ยกระดับความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรในถนน 13 สาย
ตัวอย่างที่ชัดเจน
- ถนนศรีนครินทร์ร่มเกล้า เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนนสายหลักตามแนวตะวันตก-ตะวันออก ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรกรุงเทพฝั่งตะวันออก สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ถึง 200,000 คัน/ วัน
- ถนนคุ้มเกล้า เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่เขตลาดกระบังและมีนบุรี ระยะทาง 9.4 กม. สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 60,000 คัน/วัน
- ถนนประชาร่วมใจถึงถนนมิตรไมตรี ระยะทาง 7.7 กม. เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเขตมีนบุรี คลองสามวา หนองจอก ลาดกระบังและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ถึง 40,000 คัน/วัน




เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง ช่วยให้รถสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการไปแล้ว จำนวน 33 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 44 กม.
ตัวอย่างที่ชัดเจน
- ถนนเลียบคลองลำตามีร้องไห้ฝั่งตะวันตก ระยะทาง 4.2 กม.
- ถนนเจ้าคุณทหาร ช่วงฉลองกรุงถึงสะพานข้ามคลองสาม ระยะทางกว่า 4 กม.
- ซอยรามคำแหง 9 ช่วงคลองแสนแสบถึงหมู่บ้านธารารมย์ ระยะทาง 4.5 กม. เป็นต้น




เพื่อแก้ปัญหารถที่เกิดจากการจราจรที่หนาแน่นโดยการระบาย รถขาเข้าและขาออก
ตัวอย่างที่ชัดเจน
- สะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์
- สะพานเลี้ยวขวาจากพุทธมณฑลสาย 2 เข้าถนนพรานนก และพุทธมณฑลสาย 4




ตัวอย่างที่ชัดเจน
- ทางลอดแยกมไหสวรรย์ ที่เริ่มก่อสร้างมายาวนาน ผลักดันให้ดำเนินการเสร็จภายในปี 2559 และเปิดใช้งานได้ในปี 2560 เพื่อลดจุดตัดแยกมไหสวรรย์และเพิ่มศักยภาพด้านการจราจรในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ระยะทาง 0.88 กม.สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ 100,000 คัน/วัน
- การสร้างทางลอดพัฒนาการ รามคำแหง ถาวรธวัช เพื่อลดจุดตัดทางแยกและเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรบนถนนพัฒนาการ ระยะทาง 1.2 กม. สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ 100,000 คัน /วัน


สร้างความสะดวกส่งเสริมให้คนเมืองใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้นด้วย “รถ -ราง- เรือ”
จัดให้มีบริการเดินรถ Shutle bus ด้วยระบบไฟฟ้า รับส่งผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชน (ราง) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อการเดินทางที่ระบบขนส่งมวลชนหลักไปไม่ถึง ปัจจุบันมีจำนวน 3 เส้นทาง
ตัวอย่างที่ชัดเจน
- เส้นทางสาย บี 1 จากสถานีขนส่งสายใต้ ถึงบีทีเอส บางหว้า ระยะทาง 26.5 กม. ให้บริการจำนวน 5 คัน สามารถรองรับประชาชนได้ 1,300 คน ต่อวัน
- เส้นทางสายบี 2 จากดินแดงถึงบีทีเอสสนามเป้า ระยะทาง 12 กม.ให้บริการ 6 คัน สามารถรองรับประชาชนได้ 1,300 คน ต่อวัน
- สายบี 3 จากชุมชนเคหะร่มเกล้า ถึง Airprt Rail lonk ระยะทาง 17.5 กม.สามารถรองรับประชาชนได้ 2,400 คน ต่อวัน

เพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนและปัญหาจราจรบนถนน ด้วยรถไฟฟ้า 2 สาย
ตัวอย่างที่ชัดเจน
- รถไฟฟ้าสายสีเขียว: ช่วยลดปัญหาการจราจรบนถนนสุขุมวิทและพหลโยธิน แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1.สถานีแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 9 กม. รวม 9 สถานี รองรับการบริการโดยเฉลี่ยกว่า 45,000 คน/วัน
2.สถานหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 16 กม. 16 สถานี รองรับการบริการโดยเฉลี่ยกว่า 100,000 คน/วัน
- รถไฟฟ้าสายสีทอง: ช่วยลดปัญหาการจราจรในเส้นทางถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรี พื้นที่คลองสาน ช่วยเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีเขียว ระยะทาง 2.8 กม. จำนวน 2 สถานี รองรับการบริการโดยเฉลี่ยกว่า 1,800-25,000 คน/วัน

พัฒนาระบบการเดินเรือโดยสารทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในฝั่งธนและฝั่งกรุงเทพตะวันออก
ตัวอย่างที่ชัดเจน
- การเดินเรือโดยสารในคลองผดุงกรุงเกษม จากท่าเรือเทวราชถึงท่าเรือสถานีหัวลำโพง ระยะทาง 5 กม. รวม 11 ท่า ครอบคลุมพื้นที่เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่ายและปทุมวัน ให้บริการด้วยเรือพลังงานไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งหมด 7 ลำ มีผู้ใช้บริการ 120,000 ราย/ปี
- การเดินเรือโดยสารในคลองภาษีเจริญ จากท่าเรือระยะทาง 11.5 กม. รวม 15 ท่าน ครอบคลุมพื้นที่ภาษีเจริญ และบางแค บริการด้วยเรือดีเซลทั้งหมด 10 ลำ ซึ่งมีผู้ใช้บริการกว่า 25,000 ราย/ปี
การเดินเรือในคลองแสนแสบ ระยะทาง 10.5 กม.รวม 12 ท่าน ให้บริการด้วยเรือพลังงานไฟฟ้า 12 ลำ สามารถให้บริการประชาชนได้รวม 200,000 ราย/ปี
