"แก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ"
"แก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ"
ต้องไปต่อ"

กรุงเทพฯ….ต้องไปต่อ
ลุย "ต่อ"... แก้ปัญหาน้ำท่วม
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศโดยพื้นฐานของ “กรุงเทพมหานคร” มีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มและอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล นั่นหมายความว่าในช่วงหน้าน้ำหลาก กรุงเทพมหานครจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ ร่วมถึงช่วงที่มีฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนขึ้นสูง ซึ่งการจะบริหารจัดการก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ เพราะเป็นการทำงานที่ท้าทายสภาพของธรรมชาติและปัจจัยของการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน
สาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วม
สำหรับปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร นอกจากปัญหาที่แก้ไม่ได้อย่างเรื่องสภาพภูมิประเทศแล้ว สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานครนั้นก็คือ “น้ำ” โดยมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
- น้ำฝน (Rain)
- น้ำเหนือ (Flash Flood)
- น้ำทะเล (Sea)

แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาทางท่านพล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมืองและทีมงานได้เข้าแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วมแล้วมากถึง 24 จุดทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร ด้วยการดำเนินโครงการขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ภายใต้แนวคิด “พัฒนาของใหม่ ใส่ใจของเดิม เพิ่มเติมให้สมบูรณ์”
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครให้สมบูรณ์และลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม ด้วยโครงการที่มีความสำคัญต่าง ๆ เช่น
สำเร็จแล้ว
พัฒนาของใหม่
- อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง
- การขยายท่อระบายน้ำด้วยระบบ Pipe Jacking 12 แห่ง
- จัดทำ Water Bank 4 แห่ง
- สร้างแก้มลิง 9 แห่ง
ใส่ใจของเดิม
- ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบระบายน้ำย่อย
- สร้างสถานีสูบน้ำ ทดแทนของเดิมที่ชำรุด
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- ขยายท่อระบายน้ำด้วยวิธี Pipe Jacking
- สวนสาธารณะคลองช่องนนทรีช่วงที่ 2 ด้วยความคิดที่ว่า “คลองที่ทำหน้าที่มากกว่าการระบายน้ำ”
จะพัฒนาต่อ
พัฒนาของใหม่
- จัดทำอุโมงค์ระบายน้ำ, Water Bank และแก้มลิงเพิ่ม เพื่อให้รองรับและครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีปัญหาทั่วกรุงเทพมหานคร
ใส่ใจของเดิม
- บำรุงรักษาระบบระบายน้ำย่อย
- พัฒนาสถานีสูบน้ำ ทดแทนของเดิมที่ชำรุด
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- ผลักดันให้มีท่อระบายน้ำระบบ Pipe Jacking มากขึ้น
- ผลักดันการพัฒนาสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีช่วงที่ 1 และ 3-5
สำเร็จแล้ว
พัฒนาของใหม่
- อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง
- การขยายท่อระบายน้ำด้วยระบบ Pipe Jacking 12 แห่ง
- จัดทำ Water Bank 4 แห่ง
- สร้างแก้มลิง 9 แห่ง
ใส่ใจของเดิม
- ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบระบายน้ำย่อย
- สร้างสถานีสูบน้ำ ทดแทนของเดิมที่ชำรุด
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- ขยายท่อระบายน้ำด้วยวิธี Pipe Jacking
- สวนสาธารณะคลองช่องนนทรีช่วงที่ 2 ด้วยความคิดที่ว่า “คลองที่ทำหน้าที่มากกว่าการระบายน้ำ”
จะพัฒนาต่อ
พัฒนาของใหม่
- จัดทำอุโมงค์ระบายน้ำ, Water Bank และแก้มลิงเพิ่ม เพื่อให้รองรับและครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีปัญหาทั่วกรุงเทพมหานคร
ใส่ใจของเดิม
- บำรุงรักษาระบบระบายน้ำย่อย
- พัฒนาสถานีสูบน้ำ ทดแทนของเดิมที่ชำรุด
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- ผลักดันให้มีท่อระบายน้ำระบบ Pipe Jacking มากขึ้น
- ผลักดันการพัฒนาสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีช่วงที่ 1 และ 3-5
สำเร็จแล้ว
พัฒนาของใหม่
- สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมให้สูงกว่าของเดิม และพัฒนาความแข็งแรงให้มากยิ่งขึ้น
ใส่ใจของเดิม
- ปรับปรุงแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดให้ใช้งานได้กว่า 12 แห่ง
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- สร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาตามจุดฟันหลอ
จะพัฒนาต่อ
พัฒนาของใหม่
- เสริมแนวป้องกันน้ำท่วมที่ยังมีปัญหาอีก 14 แห่งให้สมบูรณ์
- ปลูกป่าชายเลนหลังแนวคันหินเพื่อเพิ่มพื้นที่ชายฝั่ง
ใส่ใจของเดิม
- ปรับปรุงแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดทั้งหมดรอบกรุงเทพมหานคร
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- ผลักดันการแก้ปัญหาชายฝั่งบางขุนเทียนถูกกัดเซาะด้วยคันหิน
- สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมจุดฟันหลออีก 11 จุด
สำเร็จแล้ว
พัฒนาของใหม่
- สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมให้สูงกว่าของเดิม และพัฒนาความแข็งแรงให้มากยิ่งขึ้น
ใส่ใจของเดิม
- ปรับปรุงแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดให้ใช้งานได้กว่า 12 แห่ง
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- สร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาตามจุดฟันหลอ
จะพัฒนาต่อ
พัฒนาของใหม่
- เสริมแนวป้องกันน้ำท่วมที่ยังมีปัญหาอีก 14 แห่งให้สมบูรณ์
- ปลูกป่าชายเลนหลังแนวคันหินเพื่อเพิ่มพื้นที่ชายฝั่ง
ใส่ใจของเดิม
- ปรับปรุงแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดทั้งหมดรอบกรุงเทพมหานคร
เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
- ผลักดันการแก้ปัญหาชายฝั่งบางขุนเทียนถูกกัดเซาะด้วยคันหิน
- สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมจุดฟันหลออีก 11 จุด
ผลการดำเนินงานที่สำเร็จแล้ว
จากการดำเนินงานทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้น ส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ลดลงจากเดิม 26 จุด เหลือเพียง 9 จุด นั่นหมายความว่าสามารถแก้ปัญหาจุดเสี่ยงไปแล้วกว่า 60 %
สร้างขยายท่อระบายน้ำด้วยระบบ Pipe Jacking
การขยายท่อระบายน้ำด้วยระบบไปป์แจ็คกิ้ง (Pipe Jacking) เป็นการขยายท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ โดยใช้เทคนิควางท่อใต้ดิน และใช้แม่แรงไฮดรอลิกขนาดใหญ่ดันท่อทะลุใต้ดิน เพื่อช่วยเร่งแรงดันน้ำ ลดปัญหาน้ำรอระบายที่ผิวการจราจรและพื้นถนน ซึ่งปัจจุบันเราสร้างไปแล้ว 12 แห่ง ในพื้นที่ อาทิ





อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่
การสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่หรืออุโมงค์ยักษ์ เป็นการสร้างเพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำหรือทะเลโดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้ระดับของน้ำในคลองลงลดอย่างรวดเร็ว และเพียงพอต่อการรับน้ำจากภาคส่วนอื่น ๆ ต่อไป ในปัจจุบันได้สร้างมาแล้ว 2 แห่ง ดังนี้






วอเทอร์แบงค์ (Water Bank)
Water Bank หรือบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน ที่จะช่วยกักเก็บน้ำที่ระบายออกไม่ทันเอาไว้ โดยน้ำจะถูกส่งมายังวอเทอร์แบงค์ก่อน และหลังจากที่ระดับน้ำบนถนนแห้งแล้ว จึงจะผันน้ำออกจากวอเทอร์แบงค์ไปสู่แหล่งน้ำและระบายออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นลำดับต่อไป ซึ่งปัจจุบันสร้างเพิ่มขึ้นแล้ว 4 แห่ง ได้แก่






แก้มลิงธรรมชาติ
การสร้างแก้มลิงธรรมชาติ เป็นอีกวิธีที่จะช่วยรองรับน้ำได้ ปัจจุบันได้การดำเนินการสร้างแก้มลิงทางธรรมชาติไป แล้ว 9 แห่ง อาทิเช่น






ผลงานอื่น ๆ ในด้านการป้องกันน้ำท่วม
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแนวป้องกันแนวชายทะเลบางขุนเทียนถูกกัดเซาะ
โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โคลนตมและเกิดความคุ้มค่า พร้อมกับส่งเสริมให้มีศูนย์เฝ้าระวังชายฝั่งเพื่อตรวจสอบ ดูแล และเฝ้าระวังสถานการณ์
ปรับปรุงแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดให้มีสภาพที่ใช้การได้
ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วเป็นจำนวน 12 แห่ง อาทิเช่น
- บริเวณท่าน้ำเกียกกาย
- วัดวิมุติยาราม
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม
สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมให้สูงและแข็งแรงยิ่งขึ้นเพิ่มเติม
ทางทีมงานได้เสริมความแข็งแกร่งของแนวป้องกันน้ำท่วม ทั้งการทำให้สูงขึ้น แข็งแรงขึ้น ด้วยวัสดุที่ดียิ่งขึ้น จากเดิมอีก 23 แห่ง ได้แก่
- บริเวณคลองสาทรถึงซอยเจริญกรุง 58
- ปากคลองบางคอแหลม
- กรมโรงงานอุตสาหกรรมฯ
- ชุมชนวัดเทพากร เป็นต้น
สร้างเพิ่มเติมในจุดที่เรียกว่า “ฟันหลอ” รอบเมืองกรุงเทพมหานคร
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแนวป้องกันน้ำท่วม ในจุดฟันหลอ ให้สมบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่
เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนเข้ามาท่วมในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมีจุดฟันหลออยู่ 11 แห่ง ได้แก่
- ร้านอาหารขนาบน้ำ และริเวอร์บาร์ (เจรจาได้แล้ว)
- ชุมชนวิมุติยาราม
- โกงดังบริษัทแสงทองการข้าว
- ชุมชนบ้านบุ
- องค์การสะพานปลา
- ท่าเรือเทเวศร์
- ถนนเจริญกรุง
- อาคารคลังสินค้ากระทรวงพาณิชย์
- ชุมชนโรงสี
- ถนนพระราม 3
- ถนนทรงวาด